บท

  1. 1
  2. 2
  3. 3
  4. 4
  5. 5
  6. 6
  7. 7
  8. 8
  9. 9
  10. 10
  11. 11
  12. 12
  13. 13
  14. 14
  15. 15
  16. 16
  17. 17
  18. 18
  19. 19
  20. 20
  21. 21
  22. 22
  23. 23
  24. 24
  25. 25
  26. 26
  27. 27
  28. 28
  29. 29
  30. 30
  31. 31
  32. 32
  33. 33
  34. 34
  35. 35
  36. 36
  37. 37
  38. 38
  39. 39
  40. 40
  41. 41
  42. 42
  43. 43
  44. 44
  45. 45
  46. 46
  47. 47
  48. 48

พันธสัญญาเดิม

พันธสัญญาใหม่

เอ‌เส‌เคียล 42 ฉบับ1971 (TH1971)

1. แล้ว​ท่าน​พา​ข้าพ‌เจ้า​มา​ถึง​ลาน​ชั้น‍ใน ตรง​ทิศ​เหนือ และ​ท่าน​นำ​ข้าพ‌เจ้า​มา​ถึง​ห้อง ซึ่ง​อยู่​ตรงข้าม​กับ​สนาม​และ​ตรงข้าม​กับ​ตึก​ทาง​ด้าน​ทิศ​เหนือ

2. ความ​ยาว​ของ​ตึก​ที่​อยู่​ทาง​ด้าน​เหนือ​นั้น​เป็น​หนึ่ง‍ร้อย​ศอก และ​กว้าง​ห้า‍สิบ​ศอก

3. ติด​ต่อ​กับ​ส่วน​ยี่‍สิบ​ศอก​ซึ่ง​เป็น​ส่วน​ของ​ลาน​ชั้น‍ใน หัน‍หน้า​เข้า​สู่​พื้น‍หิน​ซึ่ง​เป็น​ส่วน​ของ​ลาน​ข้าง‍นอก เป็น​ระเบียง​ซ้อน​ระเบียง​สาม​ชั้น

4. และ​ข้าง‍หน้า​ห้อง​มี​ทาง‍เข้า​ข้าง‍ใน​กว้าง​สิบ​ศอก ยาว​หนึ่ง‍ร้อย​ศอก บรร‌ดา​ประ‌ตู​ห้อง​เหล่า‍นี้​อยู่​ทาง​ด้าน​เหนือ

5. ห้อง​ข้าง‍บน​แคบ​กว่า เพราะ​ระเบียง​กิน​เนื้อ‍ที่​ไป มาก‍กว่า​ระเบียง​ห้อง​ชั้น‍ล่าง และ​ชั้น​กลาง​ใน​ตึก​นั้น

6. เพราะ​ว่า​เป็น​ห้อง​สาม​ชั้น และ​ไม่‍มี เสา‍รอง​เหมือน​เสา​ที่​ลาน​ข้าง‍นอก เพราะ​ฉะนั้น​ห้อง‍ชั้น‍บน​จึง​ร่น​เข้า ไป​กว่า​พื้น​มาก‍กว่า​ห้อง​ชั้น‍ล่าง​และ​ชั้น​กลาง

7. และ​มี​ผนัง​ข้าง‍นอก​ขนาน​กับ​ห้อง ตรง​ไป​ยัง​ลาน​ข้าง‍นอก​ตรงข้าม​กับ​ห้อง ยาว​ห้า‍สิบ​ศอก

8. เพราะ​ว่า​ห้อง​ที่​ลาน​ข้าง‍นอก​ยาว​ห้า‍สิบ​ศอก ส่วน​ห้อง​เหล่า‍นั้น​ที่​ตรงข้าม​กับ​พระ‍นิเวศ​ยาว​หนึ่ง‍ร้อย​ศอก

9. ใต้​ห้อง​เหล่า‍นั้น​มี​ทาง‍เข้า​อยู่​ด้าน​ตะวัน‍ออก ถ้า​เข้า​ไป​จาก​ลาน​ข้าง‍นอก

10. ตรง​ที่​ผนัง​ด้าน‍นอก​เริ่ม‍ต้นด้าน‍ใต้​ก็​เช่น‍เดียว​กัน ตรงข้าม​กับ​สนาม​และ​ตรงข้าม​กับ​ตึก​มี​ห้อง​หลาย​ห้อง

11. (มี​ทาง‍เดิน​อยู่​หน้า‍ห้อง) คล้าย‍กับ​ห้อง​ทาง​ทิศ​เหนือ ยาว​และ​กว้าง​ขนาด​เดียว​กัน มี​ทาง‍ออก แผน‍ผัง​และ ประ‌ตู​อย่าง‍เดียว​กัน

12. ข้าง‍ล่าง​ห้อง​ทิศ​ใต้​มี​ทาง‍เข้า​อยู่​ด้าน​ตะวัน‍ออก ที่​ที่​เข้า​มา​ตาม​ทาง‍เดิน ตรงข้าม​มี​ผนัง​แบ่ง

13. แล้ว​ท่าน​กล่าว​แก่​ข้าพ‌เจ้า​ว่า “ห้อง​ด้าน​เหนือ​และ​ห้อง​ด้าน​ใต้ ตรงข้าม​สนาม​เป็น​ห้อง‍บริ‌สุทธิ์​ที่​ปุโร‌หิต​ผู้​เข้า​ใกล้ พระ‍เจ้า​จะ​รับ‍ประ‌ทาน​ของ​ถวาย​อัน​บริ‌สุทธิ์​ที่‍สุด เขา​จะ​วาง​ของ​ถวาย​อัน​บริ‌สุทธิ์​ที่‍สุด​นั้น​ไว้​ที่‍นั่น คือ​ธัญญ‌บูชา เครื่อง​บูชา​ไถ่‍บาป เครื่อง​บูชา​ไถ่​ความ​ผิด เพราะ‍ว่า​ที่‍นั่น​บริ‌สุทธิ์

14. เมื่อ​ปุโร‌หิต​เข้า​ไป​ใน​ที่​บริ‌สุทธิ์ เขา​จะ​ไม่​ออก​ไป​จาก​ห้อง​นี้​เข้า​สู่​ลาน​ข้าง‍นอก นอก‍จาก​จะ​ปลด​เครื่อง​แต่ง‍กาย​ที่​เขา​สวม​ปฏิ‌บัติ หน้า‍ที่​วาง‍ไว้​ที่‍นั่น​เพราะ​สิ่ง​เหล่า‍นี้​บริ‌สุทธิ์ เขา​จะ​ต้อง​สวม​เครื่อง​แต่ง‍กาย​อื่น​ก่อน​ที่​เขา จะ​เข้า​ไป​สู่​ส่วน​ที่​มี​ไว้​สำ‌หรับ​ประ‌ชา‍ชน”

15. เมื่อ​ท่าน​ได้​วัด​ข้าง‍ใน​บริ‌เวณ​พระ‍นิเวศ​เสร็จ​แล้ว ท่าน​ก็​นำ​ข้าพ‌เจ้า​ออก​มา​ทาง​ประ‌ตู ซึ่ง​หัน‍หน้า​ไป​ทาง​ทิศ​ตะวัน‍ออก และ​วัด​บริ‌เวณ​พระ‍นิเวศ​โดย​รอบ

16. ท่าน​วัด​ด้าน​ตะวัน‍ออก​ด้วย​ไม้‍วัด​ได้​ห้า‍ร้อย​ศอก​ตาม​ไม้‍วัด

17. แล้ว​ท่าน​ก็​หัน‍มา​วัด​ทาง​ด้าน​เหนือ​ได้​ห้า‍ร้อย​ศอก​ตาม​ไม้‍วัด

18. แล้ว​ท่าน​ก็​หัน‍มา​วัด​ด้าน​ใต้​ได้​ห้า‍ร้อย​ศอก​ตาม​ไม้‍วัด

19. แล้ว​ท่าน​ก็​หัน‍มา​ด้าน​ตะวัน‍ตก​แล้ว​วัด​ได้​ห้า‍ร้อย ศอก​ตาม​ไม้‍วัด

20. ท่าน​วัด​ทั้ง​สี่​ด้าน​มี​กำ‌แพง​ล้อม​รอบ​ยาว​ห้า‍ร้อย​ศอก กว้าง​ห้า‍ร้อย​ศอก เป็น​ที่​แบ่ง​ระหว่าง​ที่​บริ‌สุทธิ์​และ​ที่ สา‌ธารณะ