บท

  1. 1
  2. 2
  3. 3
  4. 4
  5. 5
  6. 6
  7. 7
  8. 8
  9. 9
  10. 10
  11. 11
  12. 12
  13. 13
  14. 14
  15. 15
  16. 16
  17. 17
  18. 18
  19. 19
  20. 20
  21. 21
  22. 22
  23. 23
  24. 24
  25. 25
  26. 26
  27. 27
  28. 28
  29. 29
  30. 30
  31. 31
  32. 32
  33. 33
  34. 34
  35. 35
  36. 36
  37. 37
  38. 38
  39. 39
  40. 40
  41. 41
  42. 42
  43. 43
  44. 44
  45. 45
  46. 46
  47. 47
  48. 48

พันธสัญญาเดิม

พันธสัญญาใหม่

เอ‌เส‌เคียล 41 ฉบับ1971 (TH1971)

1. แล้ว​ท่าน​นำ​ข้าพ‌เจ้า​มา​ถึง​ห้อง​โถง และ​ได้​วัด​เสา กว้าง​ด้าน​ละ​หก​ศอก

2. และ​ส่วน‍กว้าง​ของ​ทาง‍เข้า​นั้น​สิบ​ศอก และ​กำ‌แพง​ข้าง​ทาง‍เข้า​ด้าน​ละ​ห้า​ศอก และ​กำ‌แพง​ข้าง​ทาง‍เข้า​ด้าน​ละ​ห้า​ศอก และ​ท่าน​ก็​วัด​ความ​ยาว​ของ​ห้อง​โถง​ได้​สี่‍สิบ​ศอก กว้าง​ยี่‍สิบ​ศอก

3. แล้ว​ท่าน​ก็​เข้า​ไป​ใน​ห้อง​ชั้น‍ใน​และ​วัด​เสา ของ​ทาง‍เข้า​ได้​สอง​ศอก ทาง‍เข้า​นั้น​กว้าง​หก​ศอก และ​กำ‌แพง​ข้าง​ทาง‍เข้า​นั้น​เจ็ด​ศอก

4. และ​ท่าน​ก็​วัด​ความ​ยาว​ของ​ห้อง​ได้​ยี่‍สิบ​ศอก กว้าง​ยี่‍สิบ​ศอก พ้น​ห้อง​โถง​ออก​ไป และ​ท่าน​บอก​ข้าพ‌เจ้า​ว่า นี่​เป็น​อภิ‌สุทธิ‌สถาน

5. แล้ว​ท่าน​ก็​วัด​กำ‌แพง​พระ‍นิเวศ​ได้​หนา​หก​ศอก และ​ห้อง​ระเบียง​นั้น​กว้าง​สี่​ศอก อยู่​รอบ​พระ‍นิเวศ​ทุก​ด้าน

6. ห้อง​ระเบียง​นั้น​เป็น​ห้อง​สาม​ชั้น​ซ้อน​กัน​มี​ชั้น​ละ​สาม‍สิบ​ห้อง มี​หยัก​บ่า​อยู่​รอบ​กำ‌แพง​พระ‍นิเวศ ใช้​เป็น​ที่​หนุน​ห้อง​ระเบียง เพื่อ​ไม่‍ให้​ห้อง​ระเบียง​อา‌ศัย​กำ‌แพง​พระ‍นิเวศ

7. ห้อง​ระเบียง​นั้น​ยิ่ง​สูง​ขึ้น​ไป​ก็​ยิ่ง​กว้าง​ออก ตาม​ส่วน​ขยาย​ของ​หยัก​บ่า​จาก​ห้อง​หนึ่ง ซ้อน​อยู่​บน​อีก​ห้อง​หนึ่ง​โดย​รอบ ที่​ข้าง​พระ‍นิเวศ​มี​บัน‌ได​นำ​ขึ้น​ข้าง‍บน ดัง‍นี้​แหละ​ผู้‍ใด​ที่​ขึ้น​ไป​จาก​ห้อง​ต่ำ​ที่‍สุด​ถึง​ห้อง บน​ก็​ต้อง​ลอด​ผ่าน​ห้อง​กลาง

8. ข้าพ‌เจ้า​ยัง​เห็น​อีก​ว่า พระ‍นิเวศ​นั้น​มี​ยก‍พื้น​อยู่​โดย​รอบ ฐาน​ของ​ห้อง​ระเบียง​วัด​ได้​หนึ่ง​ไม้​วัด​เต็ม ยาว​หก​ศอก

9. ผนัง​ด้าน‍นอก​ของ​ห้อง​ระเบียง​หนา​ห้า​ศอก​และ​ส่วน​ของ ยก‍พื้น​ที่​ว่าง​นั้น​ห้า​ศอก​ระหว่าง​ยก​พื้น​ของ​พระ‍นิเวศ​กับ

10. ห้อง​ทั้ง‍หลาย​ของ​ลาน​กว้าง​ยี่‍สิบ​ศอก​โดย​รอบ พระ‍นิเวศ​ทุก​ด้าน

11. และ​ประ‌ตู​ของ​ห้อง​ระเบียง​นั้น​เปิด​เข้า​ไป​ใน​ส่วน บน​ยก‍พื้น​ที่​ว่าง ประ‌ตู​หนึ่ง​หัน​ไป​ทาง​เหนือ และ​อีก​ประ‌ตู​หนึ่ง​หัน​ไป​ทาง​ใต้ ความ​กว้าง​ของ​ส่วน​ที่​ว่าง​นั้น​คือ​ห้า​ศอก​โดย​รอบ

12. ตึก​ที่​หัน‍หน้า​มา​ยัง​สนาม​ของ​พระ‍นิเวศ ทาง​ด้าน​ตะวัน‍ตก​นั้น​กว้าง​เจ็ด‍สิบ​ศอก และ​ผนัง​ของ​ตึก​หนา​ห้า​ศอก​และ​ยาว​เก้า‍สิบ​ศอก

13. แล้ว​ท่าน​ก็​วัด​พระ‍นิเวศ​ได้​ยาว​หนึ่ง‍ร้อย​ศอก สนาม​และ​ตึก​พร้อม​กับ​ผนัง​ยาว​หนึ่ง‍ร้อย​ศอก

14. ความ​กว้าง​ด้าน​ตะวัน‍ออก​ของ​ด้าน‍หน้า ของ​พระ‍นิเวศ​ทั้ง​ของ​สนาม ยาว​หนึ่ง‍ร้อย​ศอก

15. แล้ว​ท่าน​ก็​วัด​ความ​ยาว​ของ​ตึก​ซึ่ง​หัน‍หน้า ไป​สู่​สนาม​อัน​อยู่​ทาง​ทิศ​ตะวัน‍ตก พร้อม​ทั้ง​ผนัง​ข้างๆ ยาว​หนึ่ง‍ร้อย​ศอกห้อง​โถง​ของ​พระ‍นิเวศ​นั้น​และ​ห้อง​ชั้น‍ใน​และ​มุข​ชั้น‍นอก

16. บุ​ด้วย​ไม้​และ​ทั้ง​สาม​นั้น​มี​หน้า‍ต่าง​รอบ​ซึ่ง​มี​กรอบ​ฝัง​ลึก ตรงข้าม​ธรณี​ประ‌ตู​บุ​ไม้​โดย​รอบ ตั้ง‍แต่​พื้น​ถึง​หน้า‍ต่าง (หน้า‍ต่าง​นี้​มี​ม่าน​คลุม)

17. ทั้ง​ช่อง‍ว่าง​ที่​อยู่​เหนือ​ประ‌ตู​ถึง​แม้​เป็น​ห้อง​ชั้น‍ใน และ​ข้าง‍นอก​และ​บน​ผนัง​โดย​รอบ​ที่​ห้อง​ชั้น‍ใน​และ​ห้อง​โถง ก็​มี​รูป​แกะ​ไว้

18. เป็น​รูป‍เค‌รูบ รูป‍ต้น​อินท‌ผลัม และ​รูป​ต้น​อินท‌ผลัม​ระหว่าง​เค‌รูบ​ทุก​รูป เค‌รูบ​ทุก​ตน​มี​สอง​หน้า

19. หน้า​ของ​ผู้‍ชาย​ตรง​ต้น​อินท‌ผลัม​ที่​อยู่​ข้าง​หนึ่ง และ​หน้า​ของ​สิงห์‍หนุ่ม​ตรง​ต้น​อินท‌ผลัม​ที่​อยู่​อีก​ข้าง​หนึ่ง มี​รูป​อย่าง‍นี้​แกะ​ไว้​รอบ​พระ‍นิเวศ

20. จาก​พื้น​ถึง​ที่​เหนือ​ประ‌ตู มี​รูป‍เค‌รูบ​และ รูป‍ต้น​อินท‌ผลัม​แกะ​อยู่​ที่​ผนัง

21. ฝ่าย​เสา​ประ‌ตู​ของ​ห้อง​โถง​นั้น​สี่‍เหลี่ยม ข้าง​หน้า​วิสุทธิ‌สถาน​ก็​มี​อะไร​เหมือน​กับ​แท่น​บูชา​ทำ​ด้วย​ไม้

22. สูง​สาม​ศอก​ยาว​สอง​ศอก และ​กว้าง​สอง​ศอก ที่​มุม ที่​ฐาน และ​ที่​ผนัง​ทำ​ด้วย​ไม้ ท่าน​บอก​ข้าพ‌เจ้า​ว่า “นี่​เป็น​โต๊ะ​ซึ่ง​อยู่​ต่อ​พระ‍พักตร์​ของ​พระ‍เจ้า”

23. ห้อง​โถง​คือ​วิสุทธิ‌สถาน มี​ประ‌ตู​คู่​แห่ง​ละ​คู่

24. ประ‌ตู​นั้น​มี​สอง​บาน ประ‌ตู​หนึ่ง​มี​บาน​เหวี่ยง​สอง​บาน

25. และ​บน​ประ‌ตู​ของ​ห้อง​โถง มี​เค‌รูบ​และ​ต้น​อินท‌ผลัม​แกะ​ไว้ เช่น​เดียว​กับ​ที่​แกะ​ไว้​บน​ผนัง มี​ปะรำ‍ไม้​อยู่​ที่​หน้า​มุข​ข้าง‍นอก

26. มี​หน้า‍ต่าง​ที่​มี​กรอบ​ฝัง​ลึก​และ​มี​ต้น​อินท‌ผลัม​อยู่ ทั้ง​สอง​ข้าง​ที่​บน​ผนัง​ด้าน​ข้าง​มุข ทั้ง​ห้อง​ระเบียง​พระ‍นิเวศ​และ​ปะ‌รำ